2011年6月26日星期日

ปราสาทนครธม

นครธม (เขมร: អង្គរធំ) เป็นเมืองหลวงแห่งสุดท้ายและเมืองที่เข้มแข็งที่สุดของอาณาจักรขะแมร์ สถาปนาขึ้นในปลายคริสต์ศวรรษที่ 12 โดยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 มีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่ 9 ตารางกิโลเมตร อยู่ทางทิศเหนือของ นครวัด ภายในเมืองมีสิ่งก่อสร้างมากมายนับแต่สมัยแรกๆ และที่สร้างโดยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 และรัชทายาท ใจกลางพระนครเป็นปราสาทหลักของพระเจ้าชัยวรมัน เรียกว่า ปราสาทบายน และมีพื้นที่สำคัญอื่นๆ รายล้อมพื้นที่ชัยภูมิถัดไปทางเหนือ

 
ประตูทางเข้านครธมด้านใต้จุดเด่นที่สุดคือทางเข้าด้านใต้ ที่มีลักษณะเป็นหน้า 4 หน้า ก่อนจะเข้าสู่บริเวณนี้ จะเป็นแถวของยักษ์ (อสูร) ทางด้านขวา และเทวดาทางด้านซ้าย เรียงรายแบกพญานาคอยู่สองข้างสะพาน เมื่อเข้าสู่ใจกลางนครธมจะพบสิ่งก่อสร้างต่างๆ บริเวณประตูด้านใต้นี้ได้รับการอนุรักษ์ฟื้นฟูไว้ได้ดีกว่าบริเวณอื่นๆ อีก 3 ด้าน

ปราสาทนครวัด

ปราสาทนครวัดเป็น 1 ใน 7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลกที่ฝรั่งต่างชาติต่างยอมรับในความสวยงาม เราจะเห็นได้ว่า 5 ใน 7 ของสิ่งมหัศจรรย์ของโลกล้วนแต่อยู่ในประเทศฝรั่งเศสและสหรัฐอเมริกา  จะมีก็แต่เพียงปราสาทนครวัดและทัชมาฮาลเท่านั้นที่อยู่นอกประเทศทั้งสอง
    ปราสาทนครวัด เป็นประสาทศิลาแลงขนาดใหญ่โตมโหฬาร ที่ตั้งอยู่ในประเทศกัมพูชา จัดเป็นปราสาทศิลาขนาดใหญ่ที่ยังคงอยู่ ตระหง่านท้ากาลเวลานานหลายร้อยปี ผู้ที่สร้างนครวัดขึ้นมาเป็นพระองค์แรกคือพระเจ้าสุริยะวรมัน ที่ 2 โดยพระองค์มีพระประสงค์ที่จะยกพระฐานของกษัตริย์กัมพูชาให้เทียบเท่ากับเทพเจ้า ปราสาทนครวัดแห่งนี้จึงเป็นที่สถิตของพระวิษณุ เทพเจ้าสำคัญพระองค์หนึ่งตามความเชื่อของชาวกัมพูชา และพระองค์ทรงใช้สถานที่แห่งนี้ในการเผาพระบรมศพของพระองค์
    ต่อมาในยุคหลังกษัตริย์กัมพูชาองค์ต่อๆมา ได้ช่วยกันสานต่อเจตนาของบรรพบุรุษ มีการแต่งเติมและสิ่งก่อสร้างไปในแนวทางตามที่บรรพกษัตริย์ ในอดีตได้วางเอาไว้ ทำให้ชาวโลกมีโอกาสได้รับทราบถึงความเฉลียวฉลาดและความเป็นน้ำหนึ่งอันเดียวกันของชาวกัมพูชา
    ภายในบริเวณของตัวปราสาทจะรายล้อมไปด้วยอาคารต่างๆมากมาย มีถนนยาวหลายกิโลเมตร มีคูคลอง อ่างเก็บน้ำเอาไว้ใช้ภายในตัวอาคารและทางเดินเชื่อมจากอาคารหนึ่งไปยังอีกหลังหนึ่ง ความสามารถของชาวกัมพูชาใช่ว่าจะด้อยไปกว่าชาติอื่นๆในโลก เพราะมีการจัดสร้างคูคลองเชื่อมต่อกันหลายสายทำให้มองดูเหมือนตาข่ายขนาดใหญ่ครอบตัวเมืองเอาไว้  ทั้งนี้เพราะในอดีตชีวิตของประชาชนจะอาศัยการเพาะปลูกเป็นหลักในการดำรงชีวิต  น้ำจึงเป็นเสมือนปัจจัยหลักสำคัญที่ช่วยให้การเพาะปลูกและการดำเนินชีวิตเป็นไปด้วยดี
นอกจากความสามารถในการออกแบบตัวอาคารและการเชื่อมโยงคูคลองต่างๆเข้าหากันแล้วนั้น ตัวปราสาทนครวัดก็เป็นโบราณสถานที่แสดงให้เห็นถึงศิลปะการแกะสลักอันปราณีตของชาวกัมพูชาในอดีต บนศิลาจะเต็มไปด้วยภาพแกะสลักตามความเชื่อในอดีต ไม่ว่าจะเป็นการดำรงชีวิตของเทวดาและอสูรหรือการประกอบพิธีกรรมต่างๆในอดีต
เมื่อลองย้อนกลับไปดูในอดีต จะพบว่าในยุคหลังต่อมา พระเจ้าชัยวรมันที่ 1 ได้สถาปนาเมืองแห่งนี้เป็นเมืองหลวง มีชื่อว่า ยโสธรปุระ ซึ่งแรกเริ่มเดิมทีนั้นยังไม่ได้มีขนาดใหญ่โตอะไรมากมายนัก แต่ต่อมาภายหลังพระองค์ทรงวางแผนที่จะขุดคูน้ำล้อมรอบพื้นที่ มีการขุดสระเพื่อทำเป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่เพื่อเป็นแหล่งเก็บกักน้ำไว้ใช้ในการเกษตร และกษัตริย์ในรุ่นหลังๆก็ได้ปฏิบัติตามแนวพระราชดำริ ทำให้ตัวเมืองขยายใหญ่มากขึ้น
สิ่งหนึ่งที่เป็นจุดสังเกตุและเป็นที่ที่ทุกคนเข้าเยี่ยมชมจะต้องไปดูกันให้ได้ก็คือ ภาพใบหน้าที่เปี่ยมไปด้วยรอยยิ้มที่ปรากฎอยู่บนอาคาร ทำให้ได้รับการขนานนามว่าเป็น "รอยยิ้มแห่งพระนคร"ทุกวันนี้ถึงแม้ว่าปราสาทวัดจะเหลือไว้แค่ซากปรักหักพัง แต่ก็ยังไว้ซึ่งมนคลัง และมนเสน่ห์ที่ชวนให้คิดถึงความเจริญรุ่งเรืองในครั้งอดีตของสถานที่แห่งนี้อยู่มิรู้ลืม

จดหมายเหตุลาลูแบร์

จดหมายเหตุลาลูแบร์ (ฝรั่งเศส: "Du Royaume de Siam" แปลตามตัวคือ "ว่าด้วยราชอาณาจักรสยาม") เป็นจดหมายเหตุพงศาวดารที่กล่าวถึงราชอาณาจักรสยามในปลายรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พ.ศ. 2230 โดย มองซิเออร์ เดอ ลาลูแบร์ อัครราชทูตของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส ซึ่งเข้ามาทูลพระราชสาส์น ณ ประเทศสยาม ได้พรรณาถึงกรุงศรีอยุธยาไว้อย่างกว้างขวาง แม้ว่าเขาจะอยู่เพียง 3 เดือน 6 วัน จึงต้องอาศัยความรู้จากหนังสือที่ชาวตะวันตกซึ่งมากรุงสยามแต่ก่อนแต่งไว้อย่างคลาดเคลื่อนบ้าง สอบถามจากคนที่ไม่มีความรู้บ้าง ฟังจากคำบอกเล่าซึ่งจริงบ้างไม่จริงบ้าง บางเรื่องก็คาดเดาเอาเอง

จดหมายเหตุลาลูแบร์ฉบับแปลในประเทศไทยมีอยู่ 2 ฉบับ คือ ฉบับที่พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรวรรณากร กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ทรงพระนิพนธ์แปล โดยทรงแปลมาจากฉบับภาษาอังกฤษ และฉบับแปลของสันต์ ท.โกมลบุตร จากต้นฉบับภาษาฝรั่งเศส
มองซิเออร์ เดอ ลาลูแบร์ได้ออกเดินทางจากท่าเรือเมือง เบรสต์ เมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2230 มาทอดสมอที่กรุงสยาม เมื่อวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2230 เดินทางกลับเมื่อวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2231 ขึ้นบกที่ท่าเรือเมืองเบรสต์ เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2231
ความมุ่งหมายในการเขียน เพ่งเล็งในด้านอาณาเขต ความอุดมสมบูรณ์ คุณภาพของดินในการกสิกรรม ภูมิอากาศเป็นประการแรก ต่อมาเป็นขนบธรรมเนียมประเพณีโดยทั่ว ๆ ไป และเฉพาะเรื่องเฉพาะราย เรื่องเกี่ยวกับรัฐบาล และศาสนาจะกล่าวในตอนท้าย และได้รวบรวมบันทึกความทรงจำ เกี่ยวกับประเทศนี้ ที่เขาได้นำติดตัวมาด้วยไปผนวกไว้ตอนท้าย และเพื่อให้ผู้อ่านได้รู้จักชาวสยามโดยแจ่มชัด จึงได้เอาความรู้เกี่ยวกับอินเดีย และจีนหลายประการมาประกอบด้วย นอกจากนั้นยังได้แถลงว่าจะต้องสืบเสาะให้รู้เรื่องราว พิจารณาสอบถาม ศึกษาให้ถึงแก่นเท่าที่จะทำได้ ก่อนเดินทางไปถึงประเทศสยาม ได้อ่านจดหมายเหตุทั้งเก่าและใหม่ บรรดาที่มีผู้เขียนขึ้นไว้เกี่ยวกับประเทศต่าง ๆ ในภาคพื้นตะวันออก ถ้าไม่มีสิ่งดังกล่าว เขาอาจใช้เวลาสักสามปี ก็คงไม่ได้ข้อสังเกต และรู้จักประเทศสยามดี

2011年6月14日星期二

ประวัติศาสตร์คืออะไร

ประวัติศาสตร์ คือ การศึกษาเพื่อสืบสวนหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับความเป็นมาของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่ง จากหลักฐานที่ได้มีบันทึกเก็บไว้ หรือประสบการณ์จากผู้รู้โดยตรง

Herodotus

นักประวัติศาสตร์จะค้นพบข้อมูลจากแหล่งข้อมูลทางประวัติศาสตร์ต่าง ๆ เช่น จากบันทึกที่เป็นลายลักษณ์อักษร (การเขียนหรือการพิมพ์) เช่น จากบันทึกของเฮโรโดตุส (Herodotus) นักประวัติศาสตร์ชาวกรีกที่บันทึกเรื่องราวต่าง ๆ ในทวีปยุโรปเป็นคนแรกของโลก เป็นต้น หรือเรื่องราวที่เล่าสืบต่อกันโดยปากเปล่า รวมทั้งหลักฐานทางโบราณคดีจากการขุดค้นพบซากสิ่งของต่าง ๆ เช่น สุสานจิ๋นซีฮ่องเต้ ทั้งนี้ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนที่มนุษย์รู้จักลายลักษณ์อักษรในยุคหินจะเรียกว่ายุคก่อนประวัติศาสตร์

2011年6月12日星期日

I'm Zhang Chen Xi

Hi~
My name is Zhang Chen Xi,
I come from China,
I'm 22 year old.
now,I study in DPU of Tailand.
I like this place,and this people.
Thanks~